เมนู

ว่าด้วยปุญญาภิสังขาร


บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสังขารเหล่านั้นโดยชนิดต่าง ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
คติถ กตโม ปุญฺญาภิสํขาโร ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารเป็นไฉน ?
ในพระบาลีนั้น แม้เจตนาที่เป็นไปในภูมิ 4 ตรัสโดยไม่กำหนด
ไว้ว่า เจตนาที่เป็นกุศล แต่เพราะทรงกำหนดว่า กามาวจร รูปาวจร
ดังนี้ เจตนา 13 ดวง คือ กามาวจรกุศลเจตนา 8 ดวง และรูปาวจรกุศล-
เจตนา 5 ดวง ชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร. ด้วยบททั้งหลายว่า ทานมยา
(ทานมัย) เป็นต้น ทรงแสดงความเป็นไปด้วยสามารถแห่งบุญกิริยาวัตถุแห่ง
เจตนาเหล่านั้นนั่นเอง.
ในพระบาลีนั้น เจตนา 8 ดวงเป็นกามาพจรย่อมสำเร็จด้วยทานและ
ศีลเท่านั้น แต่เจตนาแม้ทั้ง 13 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา เปรียบเหมือนบุคคล
สาธยายธรรมคล่องแคล่ว ย่อมไม่รู้ซึ่งธรรมที่เป็นไปแม้สนธิหนึ่ง แม้สนธิ
สอง เมื่อนึกถึงจึงรู้ในภายหลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรกระทำกสิณบริกรรม
พิจารณาฌานที่เกิดคล่องแคล่ว และเมื่อมนสิการกรรมฐานที่ชำนาญก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เจตนาแม้ปราศจากญาณ ก็ย่อมสำเร็จเป็นภาวนา ด้วยเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า เจตนาแม้ทั้ง 13 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.
ในเทศนานั้น เทศนานี้เป็นเทศนาโดยย่อในบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น
ว่า เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็น
ใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน
เจตนา ความตั้งใจ ความคิด ปรารภศีล ฯลฯ ปรารภภาวนาทำภาวนาให้
เป็นใหญ่อันใด นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.